แนวรับ แนวต้าน Forex คืออะไร
แนวรับ แนวต้าน (Support & Resistance) คือ ระดับของราคาที่ถูกประเมินว่า มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา อาจเป็นเพียงราคาหนึ่ง ๆ หรือเป็นช่วงของราคาก็ได้ โดยระดับราคาเหล่านั้นจะถูกกำหนดขึ้นเองตามแต่มุมมองของแต่ละ Player ซึ่งสะท้อนว่า Player เหล่านั้นมองระดับราคาใดว่าเป็นตัวแทนของระดับ Demand & Supply ที่มีความสำคัญ ดังนั้น จะเห็นว่า มีข้อสังเกตสำคัญเกี่ยวกับแนวรับ-แนวต้าน ดังต่อไปนี้
- ระดับราคา ที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา
- ระดับราคา ที่สะท้อน Demand & Supply
- ระดับราคา ที่เป็น แนวรับ-แนวต้าน ถูกกำหนดขึ้นเองตามมุมมองของแต่ละคน
แนวรับ-แนวต้าน มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา เพราะมันคือ ระดับราคาที่มีการแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขาย (Transaction) ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น มันจึงเท่ากับเป็นตัวสะท้อนระดับ Demand & Supply นั่นเอง แนวรับ-แนวต้าน มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา ในแง่ที่ว่า เมื่อราคาเคลื่อนเข้ามาบริเวณ แนวรับ-แนวต้าน ราคาจะตอบสนองต่อแนวดังกล่าวโดยการแสดงพฤติกรรมหลายอย่างออกมา เช่น การสะท้อนกลับอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
แนวรับ-แนวต้าน ถูกกำหนดขึ้นเองตามแต่ละมุมมอง ดังนั้น มันมีหลายร้อยวิธีในการประเมินว่า ระดับราคาในช่วงไหนคือระดับราคาที่เป็น แนวรับ-แนวต้าน และสิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้อีกอย่าง คือมันมี แนวรับ-แนวต้าน ทั้งที่สำคัญมากและสำคัญน้อย และสิ่งที่คุณต้องทำต่อไปคือคุณต้องเริ่มเรียนรู้วิธีการหา แนวรับ-แนวต้าน ที่สำคัญก่อน เมื่อพื้นฐานแน่นแล้ว แนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเทรดได้ดีขึ้น
- หา แนวรับ-แนวต้าน ที่สำคัญก่อน -> หา แนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ทีหลัง
แนวรับ คืออะไร อ้างอิงจาก Indicators ของเรา
แนวรับ คือ จุดที่ราคามาถึงแล้วไม่สามารถทะลุลงมาได้
จากภาพโซนแนวรับ คือ โซนสีเขียว เห็นได้ว่าเมื่อราคามีการลงมาถึงโซนสีเขียว ราคาไม่สามารถทะลุลงมาได้ มีการ Retestมากถึง 3 ครั้ง ที่ราคาพยายามลงมาแตะโซนสีเขียว แต่ก็ไม่สามารถทะลุลงไปได้ ทำให้เราเรียกจุดนี้ว่า แนวรับที่แข็งแกร่ง
และมีแนวรับอีกชั้นที่เป็นสีเขียวเข้ม ตรงนั้นจะเป็นแนวรับที่ยังไม่มีกราฟวิ่งไปถึงเลย
ตัว Indicators จะแจ้งด้านข้างว่าเป็นแนวที่ยังไม่ได้มีการทดสอบ Untest เราสามารถรอเข้า Buy ในแนวนี้ได้
โดยทั่วไปเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะพยามเข้า Buy เมื่อราคามันมาถึงแนวรับ โดยเฉพาะแนวรับที่แข็งแกร่ง และจะตั้ง Stop Loss เผื่อไว้หลังแนวรับไว้เป็นแผนสำรอง
หากใช้ Indicators ตัวที่เราแจกไป จะรอเข้า Order ได้ที่ Retest ที่ไม่บ่อยมากเกินไป หรือรอเข้าที่ Untest ได้เช่นเดียวกัน เพราะหากมีการทดสอบหรือ Retest มากๆ อาจจะถึงเวลาที่จะทะลุแนวรับนี้ได้ตลอดเวลา
ตามตัวอย่างในภาพข้างล่าง
แนวต้าน คืออะไร อ้างอิงจาก Indicators ของเรา
แนวต้าน คือ จุดที่ราคามาถึงแล้วไม่สามารถทะลุขึ้นไปต่อได้
จากภาพโซนแนวต้าน คือ โซนสีแดง เห็นได้ว่าเมื่อราคามีการขึ้นไปถึงโซนสีแดง ราคาไม่สามารถทะลุขึ้นไปต่อได้ มีการ Retest มากถึง 5 ครั้ง ที่ราคาพยายามขึ้นไปแตะโซนสีแดง แต่ก็ไม่สามารถทะลุขึ้นไปต่อได้ ทำให้เราเรียกจุดนี้ว่า แนวต้านที่แข็งแกร่ง
และมีแนวรับอีกชั้นที่เป็นสีเขียวเข้ม ตรงนั้นจะเป็นแนวรับที่ยังไม่มีกราฟวิ่งไปถึงเลย
ตัว Indicators จะแจ้งด้านข้างว่าเป็นแนวที่ยังไม่ได้มีการทดสอบ Untest เราสามารถรอเข้า Buy ในแนวนี้ได้
โดยทั่วไปเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะพยามเข้า Sell เมื่อราคามันมาถึงแนวต้าน โดยเฉพาะแนวต้านที่แข็งแกร่ง และจะตั้ง Stop Loss เผื่อไว้หลังแนวรับไว้เป็นแผนสำรอง
หากใช้ Indicators ตัวที่เราแจกไป จะรอเข้า Order ได้ที่ Retest ที่ไม่บ่อยมากเกินไป หรือรอเข้าที่ Untest ได้เช่นเดียวกัน เพราะหากมีการทดสอบหรือ Retest มากๆ อาจจะถึงเวลาที่จะทะลุแนวรับนี้ได้ตลอดเวลา
ตามตัวอย่างในภาพข้างล่าง
Indicators ที่เราแจกจะแบ่งแนวเป็น 5 โซนดังนี้
ตัวบ่งชี้นี้เน้นระดับทั้งหมด 5 ประเภท:
- Weak zone (โซนอ่อนแอ) – โซนอ่อนแอ ไม่มีอุปสงค์หรืออุปทานส่วนเกินใกล้เคียงกับค่าเหล่านี้ ดังนั้น คุณควรหลีกเลี่ยงการค้าขายกับพวกเขาหรือทำอย่างระมัดระวัง
- Untested zone (โซนที่ยังไม่ทดสอบ) – ยังไม่ได้ทดสอบโซน ซึ่งรวมถึงโซนอุปสงค์และอุปทานเหล่านั้น ซึ่งครั้งหนึ่งราคาได้เคลื่อนไหวอย่างแข็งแกร่งและตรงเป้าหมาย
- Verified zone (โซนที่ตรวจสอบแล้ว) – ระดับที่ทดสอบแล้ว (ยืนยันแล้ว) ค่าเหล่านี้เป็นค่าที่จุดประกายความสนใจใหม่ในการซื้อขาย 2 ครั้งขึ้นไป ตัวบ่งชี้จะแสดงจำนวนของการทดสอบรูปแบบดังกล่าวซ้ำบนแผนภูมิ ยิ่งจำนวนการทดสอบซ้ำสูงเท่าไร โซนก็ยิ่งแข็งแกร่งเท่านั้น
- Proven zone (โซนที่พิสูจน์แล้ว) – รูปแบบที่ผ่านการทดสอบ (พิสูจน์แล้ว) ซ้ำๆ ตามกฎแล้ว กิจกรรมการซื้อขายจะกลับมาดำเนินการต่อจากค่าเหล่านี้เกือบทุกครั้ง แม้กระทั่งเมื่อระดับแตกออกและแนวโน้มเปลี่ยนไป
- Turncoat zone (โซนเทิร์นโค้ท) – ระดับที่เรียกว่า “กระจกเงา” ในขั้นต้น โซนดังกล่าวทำหน้าที่เป็นแนวต้าน/แนวรับ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน ระดับต่างๆ จึงแตกออกและใช้ในการซื้อขายในทิศทางตรงกันข้าม
ไม่ใช่ทุกแนวต้าน ราคาจะผ่านไปไม่ได้
อย่างที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ว่า สาเหตุที่เกิดแนวต้านเกิดขึ้นเนื่องจาก มีการผลักดันจากนักลงทุนส่วนหนึ่งไม่ให้ราคาขึ้นไปสูงกว่านี้ เนื่องจากว่านักลงทุนอาจมองว่าตอนนี้ราคาก็แพงมากแล้ว จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่มีการเทขายเมื่อราคาอยู่โซนแนวรับ เมื่อมีแรงขายชนะแรงซื้อ จึงทำให้ราคาตกลงมา แต่ถ้าแรงขายไม่สามารถเอาชนะแรงซื้อได้ ราคาก็จะทะลุแนวต้านขึ้นไปในที่สุด ตามภาพข้างล่าง